Facebook pixel

ดินถล่ม (Debris Flow) คืออะไร?

Home > Articoli > ดินถล่ม (Debris Flow) คืออะไร?
09 May 2025

ดินถล่ม (Debris Flow) คืออะไร?

ภัยเงียบที่คุกคามพื้นที่ลาดชันทั่วไทย ดินถล่มไม่เพียงทำลายทรัพย์สิน แต่ยังคร่าชีวิตและทำลายโครงสร้างพื้นฐานมหาศาล 🌐 มาทำความเข้าใจต้นตอ พื้นที่เสี่ยง และแนวทางรับมือ พร้อมรู้จัก HELLOMAC Geo นวัตกรรมอัจฉริยะจาก Maccaferri ที่เปลี่ยนรั้วกันดินถล่มธรรมดาให้กลายเป็นระบบแจ้งเตือนภัยแบบเรียลไทม์ ปกป้องชุมชนได้อย่างแม่นยำและทันท่วงที

🌊 Debris Flow คืออะไร?

Debris Flow หรือ “โคลนถล่ม/ดินถล่ม” คือ กระแสน้ำที่เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วซึ่งพัดพาวัสดุต่าง ๆ เช่น ดิน หิน ทราย พืชพรรณ และเศษซากอื่น ๆ มาด้วยกัน โดยมักเกิดขึ้นหลังจากฝนตกหนักหรือฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่ภูเขาหรือภูมิประเทศที่มีความลาดชันสูง ซึ่งถือเป็นหนึ่งในภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายได้มากที่สุด ​

 

เหตุการณ์โคลนถล่ม/ดินถล่ม (Debris Flow) สามารถแบ่งออกเป็น 3 พื้นที่หลัก ได้แก่

🔹 พื้นที่ต้นกำเนิด – มักอยู่บนภูเขาหรือพื้นที่ลาดชันที่มีดินหลวม ขาดพืชคลุมดิน และมีน้ำฝนหรือปริมาณน้ำสะสมสูง ทำให้ดินไถลตัวและเกิดการไหลได้ง่าย

🔹 พื้นที่เคลื่อนที่ – เป็นเส้นทางที่ตะกอนไหลผ่าน เช่น ลำห้วยหรือแม่น้ำ ซึ่งช่วยเร่งความเร็วของการไหล และอาจมีการกัดเซาะหรือสะสมตะกอนเพิ่มระหว่างทาง

🔹 พื้นที่ปลายทาง – อยู่บริเวณพื้นที่ราบ เช่น หุบเขาหรือแอ่งน้ำ ซึ่งมักมีชุมชนอาศัยอยู่ใกล้ๆ โดยจะเป็นจุดที่การไหลจะชะลอตัวและตกตะกอน ซึ่งอาจเปลี่ยนสภาพภูมิประเทศเดิม

⚠️ สาเหตุของดินถล่ม

  • ฝนตกหนักและต่อเนื่อง ทำให้ดินอิ่มน้ำและสูญเสียความมั่นคง
  • การตัดไม้ทำลายป่า ลดการยึดเกาะของดิน
  • ภูมิประเทศที่ลาดชัน เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดการพังทลาย
  • กิจกรรมมนุษย์ เช่น การก่อสร้างถนนหรือเหมืองแร่​

 

🏚️ ผลกระทบของดินถล่ม

  • ชีวิตและทรัพย์สิน: เช่น ปี 2549 มีผู้เสียชีวิต 136 ราย และความเสียหายทางเศรษฐกิจประมาณ 100 ล้านบาทในภาคเหนือของประเทศไทย และในปี 2554 ที่ภาคใต้ของประเทศไทย ก็มีผู้เสียชีวิต 64 ราย และความเสียหายต่อทรัพย์สินประมาณ 650 ล้านบาท
  • โครงสร้างพื้นฐาน: ถนน สะพาน และบ้านเรือนได้รับความเสียหายหรือถูกทำลาย ซึ่งดินถล่มปี 2566 ที่ผ่านมาทำให้ทางคมนาคมเสียหานถึง 41แห่ง
  • สิ่งแวดล้อม: การเปลี่ยนแปลงของภูมิประเทศและการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ

 

⚠️ พื้นที่เสี่ยง

ล่าสุดในปี 2567 ประเทศไทยเผชิญกับธรณีพิบัติภัยรวม 1,112 เหตุการณ์ ซึ่งรวมถึงดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก 160 เหตุการณ์ โดยพื้นที่เสี่ยงดินถล่มระดับสูงถึงปานกลางครอบคลุม 54 จังหวัด 463 อำเภอ 1,984 ตำบล 15,559 หมู่บ้าน คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 142,067 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศ

🛡️ การป้องกันและบรรเทาดินถล่ม

ในเขตไหลผ่าน (Transit Zone)

  • ลดความรุนแรงของดินถล่มด้วยการควบคุมทิศทาง ลดความเร็วของน้ำ และลดการกัดเซาะ
  • ใช้โซลูชัน เช่น ระบบป้องกันการกัดเซาะ ฝาย ร่องระบายน้ำ หรือรั้วกันดินไหล

เมื่อใช้ร่วมกับ HELLOMAC Geo รั้วกันดินถล่มจะกลายเป็นระบบอัจฉริยะ ด้วยเซนเซอร์ 8 จุดที่ตรวจจับแรงกระแทกได้แบบเรียลไทม์ และเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย GSM หรือดาวเทียมแม้ในพื้นที่ห่างไกล เพื่อแจ้งเตือนการมาของดินไหลแบบเรียลไทม์

ในเขตปลายทาง (Run-off Zone)

  • พื้นที่นี้มีการสะสมของวัสดุและแรงกระแทกสูงสุด
  • วิธีป้องกัน ได้แก่ การเบี่ยงทางน้ำ สร้างแอ่งรับตะกอน หรือวางผังใช้พื้นที่ตามความเสี่ยง
  • ใช้โครงสร้าง เช่น คันดินเสริมแรง (Green Terramesh®, Terramesh® System), เกเบี้ยน, ฝายดักตะกอน และรั้วกันดินถล่ม

เมื่อรวมกับ HELLOMAC Geo ระบบรั้วจะสามารถตรวจจับและแจ้งเตือนอัตโนมัติ ช่วยปกป้องชุมชนและโครงสร้างสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ

🧱 รั้วกันดินถล่ม (Debris Flow Barrier)

รั้วป้องกันดินถล่มของ Maccaferri ถูกออกแบบมาเพื่อหยุดการไหลของดินถล่มและโคลนถล่มตื้นที่เกิดขึ้นบนลาดเขา ร่องน้ำ หรือช่องทางน้ำ โดยระบบจะถูกปรับให้เหมาะสมกับลักษณะพื้นที่ ปริมาณการไหล และประเภทของวัสดุที่ไหลมา เมื่อเกิดแรงกระแทก รั้วจะยืดหยุ่นและดูดซับพลังงานด้วยระบบเบรกแบบบีบอัด (compression brake) ช่วยหยุดการไหลและกักเก็บวัสดุไว้ด้านหลังโครงสร้างอย่างปลอดภัย

 

ระบบของ Maccaferri ผสานความแข็งแรงและประสิทธิภาพโดยไม่รบกวนทัศนียภาพของพื้นที่โดยรอบ เหมาะกับการติดตั้งทั้งในพื้นที่ธรรมชาติและเขตชุมชน

 

โดยจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก

  • แบบ SC: สำหรับร่องน้ำแคบ
  • แบบ LCP: สำหรับร่องน้ำกว้าง มีเสาและสายดึงเพิ่มความมั่นคง

ชิ้นส่วนสำคัญ:

  • แผงตาข่ายวงแหวนเชื่อมกับสายเคเบิลด้วยแชคเคิล (shackle)
  • แผ่นเหล็กกันสึกบนสายเคเบิลด้านบน
  • สายเคเบิล (บน กลาง ล่าง) ยึดกับสมอยึดด้วยแชคเคิล
  • C-FAST anchors: สมอยืดหยุ่นจากเชือกเกลียวคู่พันห่วงเหล็ก
  • แบบ LCP มีฐานเสาและสายดึงเสริมจากด้านบนเพื่อเพิ่มความแข็งแรง

ประโยชน์ของรั้วป้องกันดินถล่ม

  • ปกป้องชีวิตและทรัพย์สิน
  • ลดความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐาน
  • รักษาสิ่งแวดล้อม
  • เพิ่มความมั่นใจให้กับชุมชนในพื้นที่เสี่ยง​

🔗 สรุป

ดินถล่มและโคลนถล่มเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยในพื้นที่ภูเขาและลาดชันของประเทศไทย และมักส่งผลกระทบรุนแรงต่อชีวิต ทรัพย์สิน และโครงสร้างพื้นฐาน การเข้าใจต้นเหตุ พื้นที่เสี่ยง และแนวทางป้องกันจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในยุคที่สภาพอากาศแปรปรวน และการเกิดขึ้นของดินถล่มนั้นถี่ขึ้น

 

เทคโนโลยีการป้องกัน เช่น รั้วกันดินถล่มจาก Maccaferri และระบบ HELLOMAC Geo ที่เปลี่ยนโครงสร้างแบบเดิมให้กลายเป็นระบบอัจฉริยะ ช่วยเสริมประสิทธิภาพในการตรวจจับ แจ้งเตือน และรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างทันท่วงทีและแม่นยำ ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ชุมชน ลดความเสียหาย และเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนในพื้นที่เสี่ยง